http://traveltour.bkkth.com
 
Tag ท่องเที่ยว, เที่ยวไทย, ฮอลิเดย์ทัวร์, ทัวร์ไทย, เที่ยวเหนือ, เที่ยวใต้, เที่ยวภาคตะวันออก, เที่ยวภาคตะวันตก, เที่ยวอีสาน, เที่ยวภาคกลาง
วัดศรีชุม
 
 

วัดศรีชุม ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร อยู่นอกกำแพงเมืองตรงมุมตะวันตกเฉียงเหนือพอดี  สิ่งสำคัญได้แก่ มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ภายในอาคารเป็นวัดที่ประดิษฐาน พระอจนะ พระพุทธรูปที่ปรากฏเรียกตามที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า พระอจนะ (ซึ่งอาจมาจากคำว่า อจละ แปลว่า ไม่หวั่นไหว) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 11.30 เมตร ลักษณะของวิหารสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป แต่หลังคาพังทลายลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน และเดินขึ้นไปตามทางบันไดแคบ ๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์พระอจนะ หรือสามารถขึ้นไปถึงสันผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายเรื่อง ชาดกต่าง ๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปจะโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงาม ของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ

หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่เขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย เรียกสถานที่นี้ว่า ฤาษีชุม ว่าเป็นสถานที่ที่พระนเรศวรมาประชุมทัพกันอยู่ที่นั้นก่อนที่จะยกทัพไปปราบปรามเมืองสวรรคโลก อันเป็นต้นตอของตำนานเรื่องพระ (อจนะ) พูดได้ที่เล่าขานกันต่อกัน เพราะเหตุใดวิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้ เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระ ร่วงทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญ และด้านอื่น ๆ อีกมาก เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็ก ๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้วไปโผล่ที่ช่องนี้ และพูดออกมาดัง ๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้ และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม         

วัดศรีชุมยังมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สุโขทัย กล่าวคือ ในช่องผนังด้านข้างของมณฑป(เรียกว่า อุโมงค์วัดศรีชุม) ได้ค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๒ เรียกว่า ศิลาจารึกวัดศรีชุม ที่เล่าเรื่องราวของการก่อตั้งราชวงศ์สุโขทัยของคนไทยกลุ่มหนึ่ง และที่เพดานของช่องผนังดังกล่าวมีภาพลายเส้น เป็น ภาพเล่าเรื่องราวพระพุทธเจ้าในชาติต่าง ๆ ที่เรียกว่า ชาดก บางภาพมีลักษณะทางศิลปกรรมกับศิลปะลังกา โดยมีอักษรสมัยสุโขทัยกำกับบอกเรื่องชาดกไว้ที่ภาพแต่ละภาพด้วย

 

ข้อมูลจาก: siamfreestyle.com

 
Visited : 1180 times
 
Suggest travel location in this region.
 
 
 
Search travel location...
 
 
Divided by region.
 
Powered and Designed by www.holidaytour.matethai.com Created 04-06-2553